วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ดีดบ้าน (ความรู้จากปฏิบัติการ 1 หลัง)




อ่านแล้วสรุปได้เลยล่ะ

วิธีดำเนินการ
1. เข้าไปคุยกับเจ้าของบ้าน ถึงขอบเขตของการทำงาน อุปกรณ์ และ ค่าใช้จ่ายที่แต่ละฝ่ายต้องเตรียม มีแบบฟอร์มให้เติม เรียกอย่างน่ารักว่า "หนังสือเต็มใจให้ซ่อมบ้าน"
2. หาสล่า ปรึกษาเรื่องวิธีการ จำนวนคนที่ต้องใช้ ค่าแรงงาน นัดวัน
3. เตรียมอุปกรณ์คือ แม่แรง 5 ตัน 10 ตัน หรือ มากกว่า และ ไม้ค้ำยัน ไม้รองแม่แรง (หลายเล่ม แล้วแต่งาน)
4. เตรียมวัสดุปูน หิน ทราย น้ำ (ใช้กะบะคนปูน ไม่ต้องเลอะ ช่างมี)

5.ต่อไม้ค้้ำกับแม่แรงเพื่อยกเสา บากไม้ค้ำให้เข้ากับแวงบ้าน ตอกตาปูติดกับแวงกันไม้ค้ำหลุดถ้าแม่แรงล้ม
6.ยกได้ที่แล้วใช้ไม้อีกเล่มมาค้ำ ระวังเรื่องรองตีนไม้ กลัวจมดิน บางเสาต้องค้ำหลายเล่ม
7 ขุดรอบเสา ผสมปูนหินทราย เทรอบ
8.ถ้าจะให้ดี ต้องตัดตีนเสา ถ้าไม่ให้ขึดต้องถอกมาตัด จะตัดตอนตีนเสาลอยไม่ได้
9.มีแม่แรงมาก ไม้ค้ำมาก ทำหลายเสาได้

ในการทดลองครั้งนี้ ทำให้ทราบว่าต้องใช้ค่าอะไรเท่าไหร่

ทำ "ใบเต็มใจซ่อมบ้าน" ให้เจ้าของบ้านเซ็น เพื่อให้รู้ว่าทางโครงการไม่ได้หวังอะไรโดยตรงจากเจ้าของบ้าน

กำลังพยายามเชื่อมโยงกลุ่มสวัสดิการในชุมชน


หนังสือเต็มใจซ่อมบ้าน

ข้าพเจ้า ( นาย / นาง / นางสาว )........................................................... อายุ ................ ปี
อยู่บ้านเลขที่ ............... หมู่ที่ ............. ตำบล .............................. อำเภอ. ...........................จังหวัดแพร่
ยินยอมให้ กองทุนอนุรักษ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองแพร่ ช่วยเหลือซ่อมแซม บ้าน เลขที่ ............. หมู่ที่ ............. ตำบล ..................................... อำเภอ. ...........................จังหวัดแพร่ ของข้าพเจ้า เป็นหลังที่............................... ของการอนุรักษ์ เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยืนนานต่อไป
โดยข้าพเจ้าผู้เป็นเจ้าของบ้านจะเป็นธุระ • จัดหาช่าง • จัดหาแรงงานผู้ช่วย • จัดหาอุปกรณ์ค้ำยัน • จัดหาแม่แรง • จัดหาวัสดุปูนซีเมนต์ • หิน • ทราย (ทำเครื่องหมาย  ในช่องที่ต้องการ ทั้งนี้จะเป็นไปตามสภาพบ้าน ความเดือดร้อน ฐานะเจ้าของบ้าน และ ฐานะทางการเงินของกองทุน ซึ่งแต่ละหลังจะไม่เหมือนกัน)
ข้าพเจ้าเข้าใจแล้วว่ากองทุนอนุรักษ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองแพร่ เข้ามาช่วยเหลือซ่อมแซมบ้านเพื่อประโยชน์โดยตรงของข้าพเจ้า อย่างไม่มีข้อผูกมัดใดๆ ทั้งสิ้น และ เป็นการอนุรักษ์บ้านไม้เมืองแพร่ซึ่งเป็นหลักฐานถึงฝีมือพื้นบ้านที่มีอยู่ในเมืองแพร่ ให้อยู่ได้ต่อไปเพื่อคนรุ่นหลังศึกษาเรียนรู้ ได้ภาคภูมิใจในมรดกงานพื้นบ้านของตนเอง

ลงชื่อ ...................................................... เจ้าของบ้าน
(......................................................)

กองทุนอนุรักษ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองแพร่ ขอชื่นชมเจ้าของบ้านที่มีความตั้งใจเก็บรักษาบ้านไม้ซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ หากบรรพบุรุษทั้งหลายเหล่านั้นได้ทราบโดยญาณวิถีใดๆ ท่านต้องยินดีที่ลูกหลานรักษาบ้านให้ได้อยู่อาศัยอย่างผาสุกเป็นเวลายาวนาน

ลงชื่อ..........................................................ตัวแทนกองทุนฯ
วันที่ ..........................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น