วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

เกษตรยั่งยืนเมืองแพร่

การอนุรักษ์ข้าวพื้นบ้านในระบบเกษตรยั่งยืนจังหวัดแพร่
…………………………………………………………………………………………………
ความเป็นมา
เครือข่ายเกษตรยั่งยืนจังหวัดแพร่ เป็นองค์กรชาวนาที่ต้องการปฏิรูประบบการทำนาของชาวนา ที่ถูกทำลายวิถีชีวิตของชาวนา และวัฒนธรรมการผลิตข้าว จนขาดความมั่นใจที่จะพึ่งตนเองจึงต้องพึ่งพาจากระบบเกษตรที่ใช้แต่พันธุ์ข้าวลูกผสมมาตลอด เกิดปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูง อันเนื่องมาจากปัจจัยการผลิต ด้านเมล็ดพันธุ์ พลังงาน ต้นทุนปุ๋ย ยา แรงงาน และฐานทรัพยากรอาหารลดลง ปัจจุบันมีแนวโน้มว่าผลผลิตทางการเกษตรไม่ค่อยจะดีนัก แต่ราคาที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ไม่แน่ว่าจะส่งผลประโยชน์กลับมาที่ชาวนา รวมทั้งราคาอาหารที่แพงขึ้นก็กลายเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง และส่งผลลบต่อคนจน ส่งผลกระทบต่อระบบพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านที่มีอยู่สูญหายไปอย่างน่าเสียดาย เป็นการผลิตเพื่อการตลาดมาโดยตลอดไม่ได้เน้นผลิตเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร การใช้สารเคมีก็ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของชาวนาเอง ผู้บริโภค ระบบนิเวศของธรรมชาติ และระบบสาธารณสุข เป็นการสูญเสียเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่างมากมายทั้งในปัจจุบันและอนาคต
เพื่อไม่ให้ปัญหาดังกล่าวเป็นเพียงกระแส แต่เป็นสิ่งที่ทำให้หน่วยงานองค์กรทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชน ได้เกิดความตระหนักเพื่อการผลิตซ้ำทางด้านความคิดในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ทางเครือข่ายเกษตรยั่งยืน จึงได้ทำงาน ภายใต้แผนการอนุรักษ์ข้าวพื้นบ้านในระบบเกษตรยั่งยืนที่เอื้อต่อสุขภาวะ เป็นการสร้างกระบวนการคิดในการเป็นเจ้าของพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ให้มีอาหารที่ปลอดภัย อีกแนวทางหนึ่งในการผลิตซ้ำทางความคิดและสร้างความตระหนักให้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มผู้บริโภค ในเรื่องผลกระทบของสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตร จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาระบบเกษตรยั่งยืนที่เอื้อต่อสุขภาวะ ที่สามารถเป็นทางออกที่ดีให้กับสังคม และชาวนาได้เป็นเจ้าของพันธุ์ข้าวได้ในสภาพปัจจุบันอย่างยั่งยืน ต่อไป
นิยามความหมาย
“ระบบเกษตรยั่งยืน” หมายความว่า การผลิตทางการเกษตร ตามวิถีเกษตรกรรมที่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดำรงรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศ สภาพแวดล้อม เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี มีการผลิตอาหารที่มีคุณภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค รวมทั้งพัฒนาองค์กรเกษตรกร เครือข่ายเกษตรกรในชุมชนท้องถิ่น นำสู่การพึ่งตนเองของเกษตรกร ชุมชน และสังคมไทย ทั้งในด้านปัจจัยการผลิต อาทิ ที่ดิน พันธุกรรม แหล่งน้ำ องค์ความรู้ ภูมิปัญญา เงินทุน รวมถึงการจัดการผลผลิตการแจก แลก ขายหลายระดับหลายรูปแบบที่มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ สังคมที่เป็นธรรม ทั้งนี้เพื่อความผาสุกและความอยู่รอดของมวลมนุษยชาติโดยรวมอย่างยั่งยืน
ได้ดำเนินงานเมื่อ ปี 2552 เป็นต้นมา ภายใต้โครงการส่งเสริมระบบเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อสุขภาวะชุมชน ภาคเหนือตอนบน มีพื้นที่ในการดำเนินการ ดังนี้
-ตำบลสบสาย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
-ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
-ตำบลน้ำชำ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
-ตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่
-ตำบลบ่อเหล็กลอง อำเภอลอง จังหวัดแพร่
-ตำบลทุ่งแล้ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่
-ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่
-ตำบลน้ำเลา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
มีวัตถุประสงค์ในการทำงาน คือ
1.เพื่อให้เกิดรูปธรรมการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ที่คำนึงถึงมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีการดำเนินงานครอบคลุมด้านการผลิต การตลาด และการบริโภค
2.เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของเครือข่ายเกษตรยั่งยืน ที่สามารถพึ่งตนเองได้ในการบริหารจัดการ รวมทั้งการมีกลไกเชื่อมประสานกับภาคีทุกภาคส่วนในพื้นที่ เพื่อเกิดพลังร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้านในพื้นที่
3.เพื่อให้เกิดการพัฒนายกระดับองค์ความรู้ ภูมิปัญญาที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมชุมชน และการรณรงค์เผยแพร่สู่สาธารณะ
4.เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมกับพหุภาคีในกระบวนการจัดการความรู้หลากหลายรูปแบบ อันเป็นพลังทางสังคมในการทำงานเชิงนโยบายสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผลที่ได้รับจากการทำงานที่ผ่านมา
1.เกิดเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ข้าวพื้นบ้าน ที่มีประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรที่สนใจ ปรับเปลี่ยนแบบแผน การผลิตสู่ระบบเกษตรยั่งยืน
2.เกิดองค์ความรู้ และนำไปสู่กระบวนการจัดการความรู้ที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมชุมชน
3.เกิดการขยายผลการจัดการความรู้สู่พื้นที่รูปธรรมการอนุรักษ์ข้าวพื้นบ้าน ที่คำนึงถึงมิติ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
4.เกิดการพัฒนาระบบเกษตรยั่งยืนที่มีการดำเนินการครอบคลุมทั้งด้านการผลิต การตลาด และการบริโภค
5.เกิดความเข้มแข็งในเครือข่ายระดับพื้นที่ให้มีสามารถพึ่งตนเองได้ในด้านเมล็ดพันธุ์ ในการบริหารจัดการ และการเชื่อมประสาน
6.เกิดกลไกการประสานงานจากการเชื่อมร้อยพหุภาคี เป็นพลังร่วมทางสังคมในการพัฒนาระบบเกษตรยั่งยืน และการทำงานเชิงนโยบายสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ตัวชี้วัดผลสำเร็จของแผนงาน
1.เกิดการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน 30 สายพันธุ์
2.เกิดศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้การคัด เพาะ และขยาย พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน
3.เกิดการขยายผลให้เกิดการตระหนักในการเรียนรู้การคัด เพาะ และขยายพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน 200 คน บนหลักการพึ่งตนเองที่นำไปสู่ความมั่นคงด้านเมล็ดพันธุ์ อาหาร รายได้ สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม
4.เกิดความเข้มแข็งเพิ่มขึ้นของ องค์กร และเครือข่ายเกษตรยั่งยืน ที่สามารถพึ่งตนเองได้ในเรื่องการบริหารจัดการ
5.เกิดยุวเกษตรกรคนรุ่นใหม่สืบทอดภูมิปัญญาการดำนา และอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน
6.เกิดการเชื่อมร้อยภาคีหุ้นส่วน และเครือข่ายยุทธศาสตร์ ให้เกิดการพัฒนาระบบการผลิตพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ให้ครอบคลุมทั้งด้านการผลิต การตลาด และการบริโภค
6.เกิดแผนผลักดันนโยบายส่งเสริมสนับสนุน และการติดตามเฝ้าระวังให้ครอบคลุมทั้งด้านการผลิต การตลาด และการบริโภค ข้าวพื้นบ้านสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
7.ชุดเอกสารเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ข้าวพื้นบ้านในระบบเกษตรยั่งยืนที่เอื้อต่อสุขภาวะ


กลุ่มเป้าหมาย
1.เกษตรกรผู้สนใจทั่วไป
2.เครือข่ายเกษตรยั่งยืนตำบลน้ำชำ
3.เครือข่ายเกษตรยั่งยืนตำบลทุ่งแล้ง
4.เครือข่ายเกษตรยั่งยืนตำบลสบสาย
5.เครือข่ายเกษตรยั่งยืนตำบลเวียงต้า
6.เครือข่ายเกษตรยั่งยืนตำบลร่องกาศ
7.เครือข่ายเกษตรยั่งยืนตำบลบ่อเหล็กลอง
8.กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่รักถิ่นกำเนิดบ้านสบสาย
9.กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนกองทุนสวัสดิการตำบลสบสาย
10.กลุ่มกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตำบลสบสาย
11.เครือข่ายเกษตรยั่งยืนตำบลห้วยหม้าย
12.เครือข่ายเกษตรยั่งยืนตำบลน้ำเลา
ภาคีความร่วมมือ
1.ศูนย์วิจัยข้าวแพร่
2.เกษตรอำเภอสูงเม่น
3.โรงเรียนบ้านสบสาย
4.สถานีอนามัยตำบลสบสาย
5.องค์การบริหารส่วนตำบลสบสาย
6.ประชาคมสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดแพร่
7.เครือข่ายเกษตรยั่งยืน ภาคเหนือตอนบน
8.สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดแพร่ (สปก.)
9.ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสูงเม่น
10.เครือข่ายปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง (สปก.) จังหวัดแพร่

ข้อเสนอ
-ควรมีการบูรณาการกับกลุ่มงานในองค์กรภาคประชาสังคมแพร่ ?
-

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น