วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มุมนักธุรกิจ มองไปข้างหน้า อยู่กับชุมชน น้ำ

คอมมูนิตี้ มอลล์เติบโตอย่างต่อเนื่อง ผลจากน้ำท่วมอาจเป็นแรงส่งเร่งอัตราการเติบโต

โพสต์ทูเดย์ 14 พย 54

คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย (Colliers International Thailand) รายงานอสังหาริมทรัพย์ภาคค้าปลีกในกรุงเทพฯ ไตรมาสที่ผ่านมา ระบุว่า มีคอมมูนิตี้ มอลล์แห่งเดียวที่เปิดให้บริการในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 และยังมีอีกหลายแห่งจะทยอยเปิดตามมา ซึ่งจะส่งผลให้จำนวนพื้นที่รวมของคอมมูนิตี้ มอลล์มากกว่าไฮเปอร์มาร์เก็ต นางอัจฉราวรรณ วจนานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายตัวแทนการขายและหาผู้เช่าธุรกิจค้าปลีกอธิบายว่า น้ำท่วมอาจเป็นผลให้เจ้าของโครงการหลายรายหันมามองหาทำเลสำหรับคอมมูนิตี้ มอลล์ในย่านที่ไม่เคยพิจารณามาก่อน

“เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น น้ำท่วม ประชาชนต้องการสถานที่ซื้อสินค้าใกล้บ้านที่พักผ่อนหย่อนใจได้พร้อมๆ กับสัมผัสบรรยากาศความเป็นชุมชน” นางอัจฉราวรรณให้ความเห็น

ในบริเวณที่มีความเสี่ยงน้ำท่วม การสร้างคอมมูนิตี้ มอลล์จำเป็นต้องคำนึงถึงความสูงของอาคารชั้นล่างสุดเนื่องจากต้องเข้าออกได้ ตลอดเวลา ทั้งต้องมีอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปาสำรองเตรียมไว้เป็นอย่างดี บางแห่งต้องคำนึงถึงบริการพิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับบริเวณทำความ สะอาดและสุขอนามัย เพราะแม้แต่ในช่วงฝนตกหนักก็อาจเกิดปัญหาได้ และประชาชนอยากรู้สึกสบายใจเวลาอยู่ในห้าง นอกจากนั้นความเป็นชุมชนจะทวีความสำคัญมากขึ้น

ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 อุปสงค์เติบโตช้าลงเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาสกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 โดยอุปสงค์ที่แล้วเสร็จรวมประมาณ 11,000 ตรม. ซึ่งเป็นคอมมูนิตี้ มอลล์เพียงแห่งเดียว โดยทั่วไป ศูนย์ค้าปลีกมักเปิดให้บริการในช่วงสองสามเดือนสุดท้ายของปีเพื่อเตรียม พร้อมรองรับช่วงเทศกาลซึ่งเป็นช่วงขายดี พื้นที่ค้าปลีกใหม่ 260,000 ตรม. มีกำหนดจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ได้แก่ เทอร์มินัล 21 และเซ็นทรัลพระราม 9 นอกจากนั้นยังมีเซ็นทรัล เวิลด์ซึ่งจะเปิดให้บริการครบทุกส่วน อัตราค่าเช่าพื้นที่เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และอัตราการครอบครองเพิ่มขึ้นประมาณ 0.2% ในช่วงเวลาเดียวกัน

น้ำท่วมในครั้งนี้เน้นให้เห็นปัญหาของการกระจายสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต โดยเฉพาะ และชั้นวางสินค้าในห้างหลายแห่งถูกจับจองจนหมด ในขณะที่อีกหลายแห่งยังมีสินค้าสต็อกในปริมาณมากพอ โดยนายปฏิมา จีระแพทย์ กรรมการผู้จัดการของคอลลิเออร์สฯ กล่าวว่า ผู้ค้าปลีกต้องกลับไปทบทวนการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ของตนหลังเกิดความเสีย หายอย่างรุนแรงจากน้ำท่วม

“จำเป็นต้องมีคลังหลายๆ แห่งในการจัดส่งสินค้าจำเป็นมายังศูนย์กลางการค้าปลีกในกรุงเทพฯและตัว จังหวัด เพื่อจะได้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาศูนย์กระจายสินค้าเพียงเดียว นอกจากนั้นคลังสินค้าต้องตั้งอยู่บนพื้นที่สูงและเชื่อมต่อกับทางยกระดับได้ ง่าย” นายปฏิมาชี้แจง และยังเสนอแนะให้รัฐบาลตั้งศูนย์คลังสินค้าฉุกเฉินเพื่อจัดเก็บสินค้าที่ไม่ เสียง่าย เช่น น้ำดื่มบรรจุขวดและอาหารกระป๋อง ทั้งภาคค้าปลีกเอกชนและภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับแผนสำรอง ไม่เพียงแต่เตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม แต่ยังต้องเตรียมตัวสำหรับสถานการณ์ภัยพิบัติอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น แผ่นดินไหว

“เราต้องไม่ดูเพียงแต่เรื่องน้ำท่วมอย่างเดียว เพราะเมื่อไม่นานมานี้เอง ทุกคนยังวิตกกังวลเรื่องแผ่นดินไหวกันอยู่เลย ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องเตรียมตัวรับภัยพิบัติหลายรูปแบบที่อาจเกิดขึ้น" นายปฏิมาเสริม

อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับน้ำท่วมก็คือจำ จำนวนร้านชำที่เลือกสร้างแนวป้องกันด้วยคอนกรีตแทนการเลือกใช้ถุงทราย นายโทนี พิคอน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยให้ข้อมูลว่า หลายๆ ร้านเกิดความวิตกกังวลว่า หากน้ำท่วมจะท่วมนานเกินหนึ่งเดือน

"เจ้าของร้านส่วนใหญ่ตระหนักว่าถุงทรายไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดในการรับ มือกับน้ำท่วมระยะยาว ประกอบกับมีเวลาสร้างแนวป้องกันที่แข็งแรงกว่า" นายโทนีกล่าว ร้านค้าปลีกส่วนใหญ่คงป้องกันเท่าที่ทำได้แต่นายโทนีแนะนำให้หาวิธีการ ป้องกันที่ดีกว่านี้หลังจากสถานการณ์น้ำท่วมบรรเทาลง

คนส่วนใหญ่จะใช้ฤดูที่ฝนไม่ตกในการขบคิดหาวิธีการป้องกันทรัพย์สินของตน เองให้ดีขึ้นและอาจพิจารณาเลือกใช้แผ่นอลูมิเนียมหรือเหล็กแบบถอดได้ที่ สามารถติดตั้งได้รวดเร็ว หลายประเทศประสบภัยน้ำท่วมรุนแรงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมทั้ง ออสเตรเลียและอังกฤษซึ่งเป็นผลให้มีการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ความจำเป็นคือแรงผลักดันให้เกิดการประดิษฐ์คิดค้น และในกรณีนี้อาจนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ป้องกันน้ำท่วมนวัตกรรมใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น