วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ช่างซอเมืองแพร่

ช่างซอเมืองแพร่

โดยช่างซอ โชคชัย (ถามตอบกับ ศรีสว่าง นริศ)

เผยแพร่ในเฟสบุค

เมืองแป้มีคณะซอปี่กี่คณะอ่าครับ

ตอนนี้ ถ้าเอาจริงๆ เหลือแค่สองคณะครับ คณะที่ดังที่สุด คือคณะ สุวรรณ นงคราญ แต่ พ่อสุวรรณพึ่งเสียชีวิตไปครับ ที่เหลือจะมีคณะแม่ครูพะยอม และก็คณะ อนุรักษ์ศิลป์ ของอาจารย์ ประหยัดครับ

อ่อ ครับ คณะซอตี่น้องว่านั้นเปิ้นซอได้ตึงทำนองล่องน่าน ตึงเข้าปี่กาครับ

ครับผม ช่างซอแพร่ 80 เปอร์เซนต์เป็นช่างซอปี่ครับ และเกือบทุกคนจะซอล่องน่านได้หมดครับ ปัจจุบัน ช่างซอปี่หันไปซอล่องน่านก็เยอะครับ เพราะขาดแคลนช่างปี่

แสดงว่าแต่เดิมเมืองแป้นิยมซอเข้าปี่ แล้วซอน่านก็เข้ามาปายลูนน้อครับ

ครับ จากที่ผมศึกษา และทำรายงานไปเทอมที่แล้ว ได้ข้อสรุปว่า ซอล่องน่าน พึ่งเข้ามาได้ประมาณ50 ปี ผ่านสองช่องทางหลักคือ 1 ชาวแพร่ไปเรียนการขับซอแบบล่อง น่านที่น่าน เช่นกรณี แม่ครูลำดวน และช่องทางที่สอง คือ มีช่างซอจากน่าน มารับจ้างสอนซอ เขาเรียกว่า พ่อครูสมพร คนที่เรียนกับพ่อครูสมพร ก็มี พ่อหนานสงคราม

การเปลี่ยนผ่านกันทำให้มีทำนองซอพิเศษ คือ ทำนองที่มาจากซอปี่ แลต่ไปใช้ในการขับซอเข้าพิณ เช่น ทำนองตั้งดาด หรือตั้งเชียงใหม่ ทำนองละม้าย จะปุ เงี้ยว พม่า อื่อ เป็นต้นครับ

ตอนนี้มีแหมอย่างตี่ยังบ่ใคร่เผยแพร่ในวงวิชาก๋ารคือซอล่องน่านมีทำนอง(ระบำ)อะหยังพ่อง ละก็มีความเหมือนและความแตกต่างจากซอเข้าปี่จะใดพ่อง เพราะมันเข้าใจ๋ฮู้กั่นเฉพาะจ่างซอ แต่เพื่อการเผยแพร่สืบทอดความฮู้นั้นยังบ่มีใผไขออกมาเตื่อน้อครับ เกยมีอาจ๋ารย์ม.มหิดล เปิ้นทำวิจัยเรื่องซอในภาคเหนือแต่ก็อู้ถึงแต่ความแตกต่างของเครื่องดนตรี และทำนองเพลงเต้าอั้น แล้วเผยแพร่ในตี่สัมมนาว่าซอปี่ต่างกับซอล่องน่านโดยบ่อู้ถึงความเหมือนเลยครับ แต่ตี่อ้ายได้ฟังนั้นคิดว่าเหมือนกั๋นอยู่หลายอย่าง อาจจะเคลื่อนกั่นหั้นน้อยนี้น้อย แต่เค้ามันอันเดียวกั๋น น้องคิดว่าจะใดพ่องครับ

ผมกำลังทำเรื่องทำนองซอปี่ ที่ปรากฏในซอล่องน่านอยู่ครับ แต่เราไม่สามารถหาหลักฐานอ้างอิงได้ มีแต่ข้อสัณนิษฐาน เพราะผู้ที่จะให้สัมภาษณ์เราคืิอบรรดาช่างซอที่เกิดในยุคนั้น ไม่เหลือให้สัมภาษณ์ละครับ เท่าที่ผมศึกษา เรื่องซอล่องน่าน ในแพร่ ก็เป็นผมคนแรกทที่ศึกษาสำรวจ สัมภาษณ์ เพราะแม้แต่แพร่เองก็จะเข้าใจว่าซอของตนเองคือซอล่องน่าน ส่วนเรื่องทำนองนั้น มีข้อสัณนิษฐานดังนี้ครับ

แล้วทำนองเฉพาะของซอล่องน่านที่ไม่เหมือนซอปี่มีไหมครับ

ช่างซอแพร่ีทีเยอะมาก แต่ช่างปีไม่พอตอ่ความต้องการ และในยุคเดียวกันนั้น ซอล่องน่าน โด่งดังและได้รับความนิยมมากในแพร่ เพราะเป็นของใหม่ ช่างซอแพร่ จึงคิดทดแทนโดยใช้เคืร่องดนตรีแบบน่าน คือพิณ และสะล้อ แทนการใช้ปี่จุม แต่การเปลี่ยนไปซอล่องน่านทันทีนั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะช่างซอแพร่ไม่คุ้นเคย จึงยังคงใช้ทำนองที่ซอปี่เดิม แต่ซอเข้ากับเครื่องดนตรีใหม่ คือซึงและสะล้อ แทนการซอเข้าปี่ ที่ขาดแคลน

ซอตั้งเชียงใหม่ เมืองน่าน เรียก ดาดแป้ ซอตั้งดาด ขึ้นดาด บ้าง แต่ซอไม่ครบวรรค ข้อนี้ฟันธงได้แน่นอนเลย ว่ารับไปจากซอปี่ เพราะเอาไปไม่ครบ แต่ในแพร่ บางคณะซอครบเหมือนปี่ทุกประการ ซอจะปุ จะเรียกกันว่าซอกล๋าง หรือหล๋ามกล๋าง ซอละม้าย จะเรียกกันว่า ซอเหลี้ยง

แต่ทำนองเพลงก็เป็นแบบเป่าปี่ใช่ไหมครับ

ทำนองไม่ต่างกันเลยครับ ซอปี่และน่าน ต่างกันที่เครื่องดนตรีที่บรรเลงประกอบการขับซอเท่านั้น แต่น่านจะมีทำนองหลักของเขาอยู่ เดิมแล้ว คือ ทำนองน่านช้อย หรือดาดน่าน1 และซอลับแลง ที่ซอปี่จะเรียกว่า น่านกล๋าย ซอปี่ในบทลงจะลงด้วย โอ้ละน้อ ละนอน้องแหละนาย

ดีจังครับที่น้องได้ศึกษาเก็บข้อมูลไว้

ทำนองดนตรี จะคล้ายๆปี่ บางที่ก็จะมีโน้ตดนตรีต่างกันออกไป การบรรเลงดนตรีประกอบการขับวอ ส่วนใหญ่ บรรเลงตามเสียงและการเดินซอช่างซออะครับ ช่างซอลัดขึ้นตรงไหน ดนตรีก็จะตาม ไม่มีอะไรที่ตายตัวครับ

ถ้าสังเกต ซอล่องน่านที่แพร่ ถ้าซอทำนองพิเศษ ดนตรีจะคล้ายดนตรีซอปี่ที่สุด และของน่านก็มีเอกลักษณ์ต่างออกไปนิดนึง แต่ฉันทลักษณ์ของบทซอ ยังคงเดิม ครับ

เรื่องนี้ต้องรีบศึกษา เพราะช่างซออาวุโสเหลือไม่มากแล้ว แต่ก็ยังคงยากที่จะหาข้อสรุป คงได้เพียงแค่ข้อสัณนิษฐาน ที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุดครับ

ครับ ไงก็ดีใจและขอเป็นกำลังใจให้น้องเก็บรวบรวมข้อมูลนี้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาสืบสานเผยแพร่ต่อไปครับ

ยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอย่างจริงจังกันต่อไป เพราะข้อมูลของผมคนเดียว อาจะเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องก็ได้ ถ้ามีคนนำเหตุผลที่มีความเป็นจริงมากกว่า มาหักล้าง ข้อสัณนิษฐานของผมเหล่านี้ก็เป็นศูนย์

ขอบคุณครับผม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น